Exotic pets
โรคของ Exotic pets
สรีระวิทยาของ Exotic pets
การเลี้ยง Exotic pets
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสุนัขและแมว
โรคประจำสายพันธุ์
การดูแลลูกสุนัขและแมวกำพร้า
โปรแกรมวัคซีนในสุนัขและแมว
โรคอ้วนในสัตว์เลี้ยง
เนื้องอกและมะเร็ง
เนื้องอกหรือมะเร็งเต้านม (Canine Mammary Gland Tumors)
เนื้องอกที่อวัยวะสืบพันธุ์ (TVT)
มะเร็งกระดูกในสุนัข (Osteosarcoma)
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
ระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต
ภาวะหัวใจโต (Cardiomegaly)
โรคพยาธิหัวใจในสุนัข (Heart Worm Disease in Dogs)
โรคพยาธิหัวใจในแมว (Heart Worm Disease in Cats)
ภาวะความดันโลหิตสูง
ภาวะหลอดลมตีบในสุนัข
วิธีการตรวจโรคหัวใจ
ภาวะโลหิตจาง (Anaemia)
ระบบประสาท
การดูแลสัตว์เลี้ยงอัมพาต
ภาวะความจำเสื่อมในสัตว์เลี้ยงสูงอายุ
การบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง
ระบบสืบพันธุ์
การคุมกำเนิด
ภาวะมดลูกอักเสบ (Pyometra)
เนื้องอกที่อวัยวะสืบพันธุ์ (TVT)
โรคกระดูกและข้อ และกายภาพบำบัด
เอ็นข้อเข่าฉีกขาด
ข้อสะโพกเสื่อม
กายภาพบำบัดในสัตว์เลี้ยง
ลูกสะบ้าเคลื่อน
การดูแลสัตว์เลี้ยงอัมพาต
โรคตาในสัตว์เลี้ยง
แผลหลุมที่กระจกตา
โรคของจอประสาทตา
โรคตาแห้ง (Dry Eye)
โรคต้อหินและต้อกระจก
โรคหนังตาม้วน
โรคที่สำคัญในแมว
โรคติดเชื้อที่สำคัญในแมว
โรคระบบทางเดินปัสสาวะในแมว
โรคพยาธิเม็ดเลือดในแมว
โรคพยาธิหัวใจในแมว (Heart Worm Disease in Cats)
โรคเบาหวานในสุนัขและแมว
โรคผิวหนัง
โรคขนร่วงแบบไม่ทราบสาเหตุ
โรคผิวหนังจากเชื้อรา
โรคขี้เรื้อน
โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อยีสต์
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง
โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคระบบทางเดินปัสสาวะในแมว
ภาวะไตวายเรื้อรัง
นิ่วในสุนัข
โรคอื่นๆในสัตว์เลี้ยง
โรคเบาหวานในสุนัขและแมว
Cushings Disease
โรคอ้วนในสัตว์เลี้ยง
อุปกรณ์การแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย
Endoscopy
มะเร็งกระดูกในสุนัข (Osteosarcoma)
Bone Tumor in Dogs
มะเร็งกระดูกสามารถเกิดได้ตามกระดูกส่วนต่างๆของร่างกาย เราเรียกมะเร็งชนิดนี้ว่า osteosarcoma เป็นมะเร็งกระดูกชนิดที่พบมากที่สุด (มากกว่า 95%) ในสุนัขและมีความรุนแรงของโรคสูง มักจะเกิดรอยโรคตามกระดูกแขนและขา เป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจายสูงและต้องอาศัยการรักษาร่วมกัน ทั้งการผ่าตัดและการทำเคมีบำบัดเพื่อลดโอกาสในการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง การพยากรณ์โรคในสุนัขที่เป็นมะเร็งชนิดนี้มักมีแนวโน้มที่ไม่ดี ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและระดับความรุนแรงของเซลล์มะเร็งด้วย
สาเหตุและปัจจัยความเสี่ยง
สาเหตุของการเกิดมะเร็งไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มะเร็ง osteosarcoma มักพบในสุนัขพันธุ์ใหญ่โดยเฉพาะพันธุ์ Rottweiler สุนัขที่มีอายุมากมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากกว่าสุนัขที่มีอายุน้อย อย่างไรก็ตามมะเร็งกระดูกชนิดนี้สามารถพบได้ในสุนัขที่มีขนาดเล็ก (น้ำหนักน้อยกว่า 15 กิโลกรัม) หรือสุนัขที่มีอายุน้อยได้เช่นกัน มะเร็ง osteosarcoma ที่เกิดตามขาพบว่า มักเกิดที่บริเวณขาหน้ามากกว่าขาหลัง โดยมักเกิดตรงส่วนปลายของกระดูขาท่อนล่างหรือส่วนต้นของกระดูดขาท่อนบน
อาการ
สุนัขจะมีอาการบวมและเจ็บบริเวณกระดูกที่เกิดมะเร็ง พบลักษณะท่าทางการเดินที่ผิดปกติไป โดยอาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันคือสุนัขไม่ยอมใช้ขารับน้ำหนัก เพราะเกิดการแตกของกระดูกที่เป็นมะเร็ง หากมีการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่ปอด เราอาจพบว่าสุนัขมีอาการบวมของขาทั้ง 4 ข้าง หายใจลำบากและอ่อนแรงลง
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจร่างกายและตรวจเลือดโดยละเอียดเพื่อวินิจฉัยโรค และแยกอาการป่วยของโรคอื่นๆออกจากมะเร็ง
การเอ็กซเรย์ทั้งตำแหน่งของกระดูกที่มีความผิดปกติ และส่วนของช่องอกเพื่อดูการกระจายของเซลล์มะเร็ง
เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อตรวจทางจุลพยาธิวิทยา
การรักษา
การรักษามะเร็งกระดูกที่มีต้นกำเนิดจากตัวกระดูกเองจะแบ่งเป็น
การรักษาเพื่อบรรเทาอาการ ซึ่งเป็นการดูแลเพื่อให้สุนัขมีความเจ็บปวดน้อยที่สุด สัตวแพทย์จำเป็นต้องให้ยาลดปวดที่ออกฤทธิ์แรงเพื่อให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วิธีนี้ไม่ได้เป็นการรักษาเพื่อยืดอายุให้สุนัขมีชีวิตได้ยาวนานมากขึ้นจากภาวะการป่วยด้วยมะเร็งกระดูก
การรักษาเพื่อให้สุนัขหายจากมะเร็ง เป็นการรักษาเพื่อให้คุณภาพชีวิตของสุนัขดีขึ้น โดยการควบคุมบริเวณที่เป็นมะเร็ง และลดโอกาสการกระจายของมะเร็ง อย่างไรก็ตามการรักษาวิธีนี้มีโอกาสประสบความสำเร็จได้แค่ 25% เท่านั้น การตัดขาข้างที่เป็นมะเร็งจัดเป็นวิธีการรักษาอย่างหนึ่ง สุนัขที่ได้รับการผ่าตัดเอาขาข้างที่เป็นมะเร็งออก จะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 4 สัปดาห์ ในการปรับตัวให้เข้ากับขาข้างที่เหลือ
ปัญหาแทรกซ้อนภายหลังการรักษา
ปัญหาที่ตามมาหลังจากสุนัขได้รับการผ่าตัดขา อาจพบปัญหาแผลแตกหรือการมีถุงน้ำเลือดคั่งบริเวณที่ทำการผ่าตัดได้
การรักษาเคมีบำบัดเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งอาจมีผลข้างเคียงได้แก่ การทำงานของไขกระดูกลดลง ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ภาวะขาดน้ำ สุนัขที่มีอาการแทรกซ้อนจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา และดูแลอย่างใกล้ชิดที่โรงพยาบาล
การดูแลสุนัขภายหลังการผ่าตัด
ภายหลังการผ่าตัดขา 12-24 ชั่วโมงสุนัขส่วนใหญ่ จะสามารถเดินได้ด้วยตัวเอง แต่เจ้าของก็ควรมีส่วนกระตุ้นเพื่อให้สุนัขมีพัฒนาการในการเดินที่เร็วขึ้น ส่วนแผลผ่าตัดควรได้รับการดูแลและทำความสะอาดแผลอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
การพยากรณ์โรค
ในมะเร็งที่เกิดตามกระดูกส่วนขา สุนัขที่เป็นมะเร็งหากได้รับการรักษาแบบบรรเทาอาการ ส่วนใหญ่อยู่ได้ประมาณ 90-150 วัน ในบางรายอาจมีชีวิตได้นานถึง 6 เดือน ส่วนน้อยที่มีชีวิตถึง 1 ปีหลังจากได้รับการวินิจฉัย ส่วนสุนัขที่ได้รับการรักษาเพื่อให้หายจากมะเร็ง ส่วนใหญ่มักมีชีวิตอยู่ได้ 235 366 วัน ส่วนน้อยที่จะมีชีวิตได้ถึง 2 ปี ส่วนมะเร็งกระดูกที่เกิดที่กระดูกสันหลัง มักพบว่าสุนัขมักจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 135 วัน
โรงพยาบาลสัตว์ศรีวรา
1325 ซอยลาดพร้าว 94 (ปัญจมิตร) แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพ 10310
โทรศัพท์ 0-2530-7636-7 แฟกซ์ 0-2530-7633
Copyright © 2011 Sriwara Animal Hospital Co. ,Ltd. All rights reserved.