Exotic pets
โรคของ Exotic pets
สรีระวิทยาของ Exotic pets
การเลี้ยง Exotic pets
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสุนัขและแมว
โรคประจำสายพันธุ์
การดูแลลูกสุนัขและแมวกำพร้า
โปรแกรมวัคซีนในสุนัขและแมว
โรคอ้วนในสัตว์เลี้ยง
เนื้องอกและมะเร็ง
เนื้องอกหรือมะเร็งเต้านม (Canine Mammary Gland Tumors)
เนื้องอกที่อวัยวะสืบพันธุ์ (TVT)
มะเร็งกระดูกในสุนัข (Osteosarcoma)
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
ระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต
ภาวะหัวใจโต (Cardiomegaly)
โรคพยาธิหัวใจในสุนัข (Heart Worm Disease in Dogs)
โรคพยาธิหัวใจในแมว (Heart Worm Disease in Cats)
ภาวะความดันโลหิตสูง
ภาวะหลอดลมตีบในสุนัข
วิธีการตรวจโรคหัวใจ
ภาวะโลหิตจาง (Anaemia)
ระบบประสาท
การดูแลสัตว์เลี้ยงอัมพาต
ภาวะความจำเสื่อมในสัตว์เลี้ยงสูงอายุ
การบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง
ระบบสืบพันธุ์
การคุมกำเนิด
ภาวะมดลูกอักเสบ (Pyometra)
เนื้องอกที่อวัยวะสืบพันธุ์ (TVT)
โรคกระดูกและข้อ และกายภาพบำบัด
เอ็นข้อเข่าฉีกขาด
ข้อสะโพกเสื่อม
กายภาพบำบัดในสัตว์เลี้ยง
ลูกสะบ้าเคลื่อน
การดูแลสัตว์เลี้ยงอัมพาต
โรคตาในสัตว์เลี้ยง
แผลหลุมที่กระจกตา
โรคของจอประสาทตา
โรคตาแห้ง (Dry Eye)
โรคต้อหินและต้อกระจก
โรคหนังตาม้วน
โรคที่สำคัญในแมว
โรคติดเชื้อที่สำคัญในแมว
โรคระบบทางเดินปัสสาวะในแมว
โรคพยาธิเม็ดเลือดในแมว
โรคพยาธิหัวใจในแมว (Heart Worm Disease in Cats)
โรคเบาหวานในสุนัขและแมว
โรคผิวหนัง
โรคขนร่วงแบบไม่ทราบสาเหตุ
โรคผิวหนังจากเชื้อรา
โรคขี้เรื้อน
โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อยีสต์
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง
โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคระบบทางเดินปัสสาวะในแมว
ภาวะไตวายเรื้อรัง
นิ่วในสุนัข
โรคอื่นๆในสัตว์เลี้ยง
โรคเบาหวานในสุนัขและแมว
Cushings Disease
โรคอ้วนในสัตว์เลี้ยง
อุปกรณ์การแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย
Endoscopy
เนื้องอกหรือมะเร็งเต้านม (Canine Mammary Gland Tumors)
มักพบในสุนัขสูงอายุ (อายุประมาณ 10-11 ปี) และพบมากในสุนัขเพศเมียที่ยังไม่ได้ทำหมัน เพราะยังมีปัจจัยฮอร์โมนเพศจากรังไข่เข้ามาเกี่ยวข้อง การเกิดเนื้องอกชนิดนี้พบว่าครึ่งหนึ่งมักจะมีความรุนแรงถึงขั้นกลายเป็นมะเร็ง และ 50% ของสุนัขที่เป็นมะเร็งเต้านม มีโอกาสพบการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะอื่นๆได้ สายพันธุ์ที่พบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งชนิดนี้ได้แก่ Standard poodle และดัชชุน
ปัจจัยเสี่ยง
ผลจากฮอร์โมนเพศ
: ในสุนัขเพศเมียที่ยังไม่ทำหมัน มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องงอกชนิดนี้ได้มากถึง 7 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับสุนัขที่ทำหมันแล้ว
อายุของสุนัขเพศเมียเมื่อตอนทำหมัน
: การทำหมันให้กับสุนัขในขณะที่ยังอายุน้อย ก่อนที่จะเป็นสัดครั้งแรก ทำให้ลูกสุนัขกลุ่มนี้มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมต่ำมากเกือบเท่ากับ 0% เรายังพบว่าในกรณีสุนัขที่ทำหมันหลังจากที่เป็นสัดไปแล้ว 1 ครั้งนั้น โอกาสหรือความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมจะเพิ่มขึ้นเป็น 7% และหากทำหมันเมื่อสุนัขมีอายุมากแล้ว ผลจากการทำหมันอาจไม่ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งชนิดนี้ได้
การได้รับโปรเจสเตอโรนหรืออนุพันธ์
เช่น ยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน
ประวัติ และอาการ
สุนัขได้รับการทำหมันเมื่อเข้าสู่การเป็นสัดไปแล้วหลายครั้ง เคยฉีดยาคุมมาก่อน เต้านมมีน้ำนมไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ วงรอบการเป็นสัดที่ผิดปกติ
พบก้อนเนื้อที่ตำแหน่งเต้านม ในกรณีที่ก้อนเนื้อเป็นมะเร็ง และมีการอักเสบ จะพบอาการบวมแดง เจ็บบริเวณก้อนเนื้อ ซึ่งอาจมีการบวมของต่อมน้ำเหลืองบริเวณขา หรือขาบวมด้วย
อาจพบการกระจายของมะเร็งเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง และกดทับลำไส้ใหญ่ อวัยวะอื่นๆที่มักพบการกระจายของมะเร็งเต้านมได้บ่อยคือ ปอด ตับ และไต
การวินิจฉัย
การตรวจเบื้องต้นโดยการเอ็กซ์เรย์ช่องอก ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจต่อมน้ำเหลืองและโดยการคลำดูขนาดของเนื้องอกและเต้านม
การเก็บตัวอย่างเซลล์หรือชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อ และต่อมน้ำเหลือง เพื่อนำไปตรวจทางจุลพยาธิวิทยา
การรักษา
การป้องกัน
: ควรทำหมันสุนัขเพศเมียก่อนการเป็นสัดครั้งแรก และทำการควรคุมน้ำหนักสุนัข มีรายงานความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกสูงขึ้นในสุนัขที่มีกินเนื้อแดงเป็นปริมาณมาก เนื่องจากในเนื้อแดงมีกรดไขมันบางชนิดที่มีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง และเป็นตัวเร่งให้ก้อนมะเร็งมีการเจริญเร็วขึ้น
การรักษาด้วยการผ่าตัด
: เป็นวิธีการรักษาหลัก การผ่าตัดมีหลายวิธีซึ่งขึ้นอยู่กับระยะของเนื้องอกที่เป็น การผ่าตัดจำเป็นต้องทำการเอาก้อนเนื้อออกหมด ในกรณีที่มีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงจะทำการตัดต่อมน้ำเหลืองนั้นออกด้วย
การรักษาด้วยเคมีบำบัด
: เหมาะสำหรับรายที่มะเร็งมีขนาดใหญ่ หรือมีการกระจาย
การรักษาเพื่อบรรเทาอาการ
: สุนัขที่ผ่านการผ่าตัดจะได้รับยาบรรเทาอาการปวด และต้องมีการควบคุมอาหาร โดยให้ทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และโปรตีนสูง
ปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรค
ระยะของเนื้องงอกที่ตรวจพบ หากเนื้องอกจัดอยู่ในขั้น 1 พบว่าสุนัขเกือบ 100% มีชีวิตได้ถึง 2 ปีหลังผ่าตัด แต่ในรายที่มะเร็งมีความรุนแรงถึงระดับ 4 มีเพียงแค่ 13 % ที่มีชีวิตได้ถึง 1 ปีหลังผ่าตัด
ขนาดของก้อนเนื้อ สุนัขที่มีก้อนเนื้อขนาดเล็กกว่า 3 ซม. มักมีแนวโน้มที่ดีกว่า และมีโอกาสที่จะมีชีวิตรอดได้ยาวกว่า
ลักษณะของก้อนเนื้อที่มีการยึดเนื้อเยื่อด้านล่าง หรือก้อนเนื้อที่มีแผลหลุมมักให้การพยากรณ์โรคในทางที่ไม่ดี
การกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง ในรายที่มีการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง ส่งผลให้มีโอกาสกลับมาเป็นมะเร็งได้อีกหลังจากที่มีการรักษาไปแล้ว และมีผลต่อระยะเวลาการมีชีวิตอยู่ของสุนัขสั้นลง
ระดับความรุนแรงของก้อนเนื้อทางจุลพยาธิวิทยา ก้อนเนื้อที่มีระดับความรุนแรงสูง มักพบว่าสุนัขมีโอกาสกลับมาเป็นมะเร็งได้อีก
โรงพยาบาลสัตว์ศรีวรา
1325 ซอยลาดพร้าว 94 (ปัญจมิตร) แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพ 10310
โทรศัพท์ 0-2530-7636-7 แฟกซ์ 0-2530-7633
Copyright © 2011 Sriwara Animal Hospital Co. ,Ltd. All rights reserved.