Exotic pets
โรคของ Exotic pets
สรีระวิทยาของ Exotic pets
การเลี้ยง Exotic pets
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสุนัขและแมว
โรคประจำสายพันธุ์
การดูแลลูกสุนัขและแมวกำพร้า
โปรแกรมวัคซีนในสุนัขและแมว
โรคอ้วนในสัตว์เลี้ยง
เนื้องอกและมะเร็ง
เนื้องอกหรือมะเร็งเต้านม (Canine Mammary Gland Tumors)
เนื้องอกที่อวัยวะสืบพันธุ์ (TVT)
มะเร็งกระดูกในสุนัข (Osteosarcoma)
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
ระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต
ภาวะหัวใจโต (Cardiomegaly)
โรคพยาธิหัวใจในสุนัข (Heart Worm Disease in Dogs)
โรคพยาธิหัวใจในแมว (Heart Worm Disease in Cats)
ภาวะความดันโลหิตสูง
ภาวะหลอดลมตีบในสุนัข
วิธีการตรวจโรคหัวใจ
ภาวะโลหิตจาง (Anaemia)
ระบบประสาท
การดูแลสัตว์เลี้ยงอัมพาต
ภาวะความจำเสื่อมในสัตว์เลี้ยงสูงอายุ
การบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง
ระบบสืบพันธุ์
การคุมกำเนิด
ภาวะมดลูกอักเสบ (Pyometra)
เนื้องอกที่อวัยวะสืบพันธุ์ (TVT)
โรคกระดูกและข้อ และกายภาพบำบัด
เอ็นข้อเข่าฉีกขาด
ข้อสะโพกเสื่อม
กายภาพบำบัดในสัตว์เลี้ยง
ลูกสะบ้าเคลื่อน
การดูแลสัตว์เลี้ยงอัมพาต
โรคตาในสัตว์เลี้ยง
แผลหลุมที่กระจกตา
โรคของจอประสาทตา
โรคตาแห้ง (Dry Eye)
โรคต้อหินและต้อกระจก
โรคหนังตาม้วน
โรคที่สำคัญในแมว
โรคติดเชื้อที่สำคัญในแมว
โรคระบบทางเดินปัสสาวะในแมว
โรคพยาธิเม็ดเลือดในแมว
โรคพยาธิหัวใจในแมว (Heart Worm Disease in Cats)
โรคเบาหวานในสุนัขและแมว
โรคผิวหนัง
โรคขนร่วงแบบไม่ทราบสาเหตุ
โรคผิวหนังจากเชื้อรา
โรคขี้เรื้อน
โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อยีสต์
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง
โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคระบบทางเดินปัสสาวะในแมว
ภาวะไตวายเรื้อรัง
นิ่วในสุนัข
โรคอื่นๆในสัตว์เลี้ยง
โรคเบาหวานในสุนัขและแมว
Cushings Disease
โรคอ้วนในสัตว์เลี้ยง
อุปกรณ์การแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย
Endoscopy
โรคระบบทางเดินปัสสาวะในแมว
โรคระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในแมว (FLUTD : Feline Lower Urinary Tract Disease)
เป็นโรคที่เกิดกับกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ พบในแมวเพศผู้มากกว่าเพศเมีย เนื่องจากท่อปัสสาวะของเพศผู้จะยาวกว่า และแคบกว่า แมวที่มีปัญหา FLUTD จะมีอาการปัสสาวะลำบาก เข้ากระบะทรายบ่อยมากแต่ปัสสาวะได้นิดเดียว หรือบางครั้งไม่มีปัสสาวะออกมาเลย ปวดเบ่ง บางครั้งปัสสาวะมีเลือดปน เลียบริเวณอวัยวะเพศบ่อยผิดปกติ โรคนี้พบได้ในแมวทุกช่วงอายุแต่พบได้บ่อยในแมวโตเต็มที่(อายุเฉลี่ยคือช่วง 4-5 ปี) แมวอ้วน และแมวที่เลี้ยงอยู่แต่ในบ้านไม่ได้ออกไปเที่ยวข้างนอก และแมวที่ชอบทานแต่อาหารเม็ดเป็นหลัก นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมรอบตัวแมวก็เป็นปัจจัยโน้มนำให้เกิดโรคได้ เช่น จำนวนกระบะทรายไม่เพียงพอ หรือไม่ได้ทำความสะอาด การเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ หรือมีสมาชิกใหม่ในบ้าน (ทั้งแมวและคน) ตลอดจนการเลี้ยงแมวรวมกันหลายตัว เหล่านี้มักทำให้เกิดความเครียดและมีผลโน้มนำให้เกิดปัญหาของระบบปัสสาวะตามมา
สาเหตุหลัก ที่พบได้บ่อยๆมีดังนี้
เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ (Feline Idiopathic Cystitis:FIC)
พบได้บ่อย โดยแมวจะมีอาการดังกล่าวข้างต้น แต่เมื่อทำการวินิจฉัยโดยละเอียด (เช่น x-ray, เพาะเชื้อ, ตรวจเลือด ฯลฯ) แล้วกลับไม่พบสาเหตุ หรือสิ่งผิดปกติ หากไม่มีการอุดตัน และแมวยังสามารถปัสสาวะเองได้ อาการเหล่านี้อาจหายไปเองได้ภายในเวลา 2-3 วันหรือเป็นสัปดาห์ แต่การรักษาจะช่วยบรรเทาอาการ และช่วยลดโอกาสการกลับมาเป็นใหม่ได้ สิ่งสำคัญที่ควบคู่ไปกับการรักษาก็คือ การระมัดระวัง และควบคุมปัจจัยที่จะส่งผลให้กลับมาเป็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งอาการ และกลไกการเกิดโรคนี้ค่อนข้างคล้ายโรคในมนุษย์ที่เรียก Interstitial cystitis
ปัจจัยโน้มนำที่สำคัญได้แก่ ความเครียดต่างๆ เนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่อ่อนไหวง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ดังนั้น การเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ เปลี่ยนเจ้าของใหม่ เปลี่ยนชนิด และยี่ห้ออาหาร การมีสมาชิกเพิ่มในบ้าน สิ่งเล็กน้อยๆเหล่านี้อาจส่งผลให้แมวเกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว(โดยเฉพาะตัวที่อ่อนไหวง่ายเป็นพิเศษ) แมวที่เริ่มแสดงอาการควรได้รับการดูแล และได้รับคำปรึกษาจากสัตวแพทย์เพื่อหาสาเหตุและการแก้ไขตั้งแต่ต้น เพราะในบางรายที่ไม่ได้รับการแก้ไขอาจเกิดปัญหาการอุดตันหรือท่อปัสสาวะตีบแคบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบรุนแรง ไตวาย แทรกซ้อนเพิ่มขึ้นมาในที่สุด
นิ่ว
พบได้เป็นอันดับรองลงมา นิ่วในแมวพบได้ 2 ชนิด คือ struvite และ calcium oxalate ซึ่งนิ่วชนิด struvite มักพบในรายที่มีการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะเรื้อรัง ปัสสาวะมีความเป็นด่างผิดปกติ หรือกินอาหารที่มีองค์ประกอบหรือแร่ธาตุชนิดเดียวกับนิ่วมากกว่าปกติ ส่วน calcium oxalate จะพบในกรณีที่ปัสสาวะมีความเป็นกรดมากกว่า struvite
พบได้ทั้งสองเพศ โดยในเพศผู้มักพบเป็นนิ่วชนิดตะกอนทราย ซึ่งมักทำให้เกิดการอุดตันที่ท่อปัสสาวะส่วนปลายได้ง่าย ขั้นต้นแมวอาจจะมีอาการเบ่งปัสสาวะ เลียอวัยวะเพศบ่อย ปัสสาวะมีเลือดปนเช่นเดียวกับ FIC แต่ต่อมาอาจเริ่มมีการอุดตัน ปัสสาวะไม่ออก มีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะจำนวนมากจนเกิดการไหลย้อนกลับไปที่ไตทำให้เกิดภาวะไตวาย หากไม่รีบแก้ไขแมวอาจเสียชีวิตภายใน 1-2 วันหลังมีการอุดตัน
ส่วนในกรณีของเพศเมียมักไม่ค่อยเกิดการอุดตัน แต่มักเกิดเป็นนิ่วขนาดใหญ่ในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งก็จะแสดงอาการเจ็บเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะมีเลือดปน สามารถวินิจัยได้จากการ x-ray
สำหรับการรักษาอาจทำได้โดยอาศัยการจัดการด้านอาหาร การดูแล ไปจนถึงการรักษาด้วยยา และการผ่าตัด ขึ้นกับระยะของโรคและชนิดของนิ่ว สัตวแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม
ท่อปัสสาวะอุดตัน (Urethral blockage or obstruction)
มักพบในเพศผู้มากกว่าเนื่องจากมีท่อปัสสาวะที่ยาว และแคบ โดยเกิดจากการที่มีเมือกหรือตะกอนจากปัสสาวะมาสะสมบริเวณท่อปัสสาวะส่วนปลาย จนเกิดการอุดตัน ซึ่งถ้าเกิดการอุดตันจนแมวไม่สามารถขับปัสสาวะออกมาได้ จะทำให้เกิดอันตรายจากการที่มีปัสสาวะคั่งค้างจนล้น และไหลย้อนไปที่ไตจนเกิดภาวะไตวาย ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขแมวมักเสียชีวิตจากภาวะไตล้มเหลวภายใน 24-48 ชม.หลังจากเริ่มมีการอุดตัน
อาการเริ่มต้นคือ เข้ากระบะทรายบ่อยมาก นั่งเบ่งปัสสาวะนาน แต่ปัสสาวะออกมาได้น้อยหรือไม่มีเลย แมวบางตัวอาจแสดงอาการกระวนกระวายหรือร้องครางขณะนั่งปัสสาวะ เมื่อพบเห็นเหตุการณ์เช่นนี้ควรรีบพามาพบสัตวแพทย์ หากตรวจพบว่ามีการอุดตัน สัตวแพทย์อาจต้องทำการสวนท่อปัสสาวะเพื่อดันให้สิ่งที่อุดตันอยู่หลุดออกไป หลังจากระบายปัสสาวะออกมาได้แล้วจึงทำการแก้ไขภาวะต่างๆตามความหนักเบาของ อาการ
ในรายที่เกิดปัญหาบ่อยหรือท่อปัสสาวะเริ่มตีบแคบมากขึ้น สัตวแพทย์อาจพิจารณาแนะนำให้ผ่าตัดแก้ไขขยายท่อปัสสาวะ เพื่อให้ท่อปัสสาวะกว้างขึ้น และลดโอกาสการอุดตันในอนาคต
เจ้าของสัตว์จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ?
เนื่องจากภาวะ FLUTD มักเกิดขึ้นได้ใหม่ การจัดการด้านการดูแล และอาหารจะมีส่วนในการช่วยลดโอกาสการกลับมาเป็นใหม่ได้ ดังนี้
แบ่งให้อาหารเป็นมื้อย่อยๆหลายๆมื้อในแต่ละวัน
ตั้งน้ำสะอาดไว้หลายๆจุดทั่วบ้าน หรืออาจตั้งน้ำพุเล็กๆเพื่อเพิ่มความน่ากินของน้ำมากขึ้น
หากแมวเคยมีประวัติเป็นนิ่ว struvite มาก่อน ควรเปลี่ยนอาหารเป็นสูตรที่ช่วยปรับสมดุลปัสสาวะให้เหมาะสม (สัตวแพทย์เป็นผู้แนะนำได้)
เพิ่มจำนวนกระบะทรายให้มากพอกับจำนวนแมว โดยอาจมีเท่ากับจำนวนแมวหรือมากกว่าจำนวนแมวหนึ่งกระบะ
ตั้งกระบะทรายในมุมที่เงียบ สงบ เพื่อให้เป็นพื้นที่ส่วนตัวสำหรับแมว และควรทำความสะอาดสิ่งขับถ่าย และคอยเปลี่ยนทรายให้สะอาดอยู่เสมอ
หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆรอบตัวแมวโดยไม่จำเป็น
โรงพยาบาลสัตว์ศรีวรา
1325 ซอยลาดพร้าว 94 (ปัญจมิตร) แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพ 10310
โทรศัพท์ 0-2530-7636-7 แฟกซ์ 0-2530-7633
Copyright © 2011 Sriwara Animal Hospital Co. ,Ltd. All rights reserved.