Exotic pets
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสุนัขและแมว
เนื้องอกและมะเร็ง
ระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต
ระบบประสาท
ระบบสืบพันธุ์
โรคกระดูกและข้อ และกายภาพบำบัด
โรคตาในสัตว์เลี้ยง
โรคที่สำคัญในแมว
โรคผิวหนัง
โรคขนร่วงแบบไม่ทราบสาเหตุ
โรคผิวหนังจากเชื้อรา
โรคขี้เรื้อน
โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อยีสต์
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง
โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคอื่นๆในสัตว์เลี้ยง
อุปกรณ์การแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย
 
โรคขี้เรื้อน
โรคขี้เรื้อนแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ โรคขี้เรื้อนเปียก และโรคขึ้เรื้อนแห้ง

โรคขี้เรื้อนเปียก (Demodicosis)
โรคขี้เรื้อนเปียกในสุนัขเกิดจากตัวไรที่ชื่อว่า Demodex canis ซึ่งตามปกติตัวไรชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในรูขุมขนของผิวหนังสุนัขบางครั้งจึงเรียกโรคผิวหนังนี้ว่า โรคขี้เรื้อนขุมขน โดยตัวไรชนิดนี้พบในสุนัขปกติได้โดยไม่ทำให้เกิดโรค กระบวนการเกิดโรคนั้นสันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ การได้รับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในระดับสูง หรือนาน หรือสัตว์ที่เป็นโรคที่มีระดับคอร์ติโคสเตียรอยด์ของร่างกายสูงกว่าปกติ การป่วยเรื้อรัง การได้รับอาหารที่ไม่มีคุณภาพ หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงเป็นสัด หรือขณะตั้งท้องก็มีส่วนให้เกิดโรคได้ โรคขี้เรื้อนเปียกไม่สามารถติดต่อกันได้ รวมทั้งไม่มีการติดต่อจากสัตว์สู่คน อาการที่พบจะมี 2 แบบ คือแบบเฉพาะที่ และแบบกระจายทั้งตัว อาการแบบเฉพาะที่จะพบขนร่วงเป็นหย่อมๆ หรือเป็นวงในบางบริเวณ เช่น ใบหน้า หัว แก้ม ริมฝีปาก รอบตา ขาหน้า หรือลำตัว อาจพบสะเก็ดรังแค ผิวหนังมีสีเข้มขึ้น มักไม่มีอาการคัน แต่ถ้าอาการเป็นแบบกระจายทั้งตัว จะพบว่ามีขนร่วงทั่วตัว ผิวหนังหนาตัว แดง รูขุมขนอักเสบ ผิวหนังอักเสบเป็นหนอง คัน การรักษามีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาฉีด ยากิน ปลอกคอ หรือยาอาบ แต่เนื่องจากโรคนี้เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันของร่างกายดังนั้นการรักษาให้หายขาดเป็นไปได้ยาก และต้องใช้เวลารักษานาน
โรคขี้เรื้อนแห้ง (Sarcopticosis)
โรคขี้เรื้อนแห้งในสุนัขเกิดจากตัวไรที่ชื่อว่า Sarcoptes scabiei var. canis มักพบในสุนัขที่เลี้ยงรวมกันหลายตัว หรือเคยสัมผัสกับสุนัขจร มีอาการขนร่วง ผื่นแดงตามตัว มีสะเก็ดรังแค และคันมาก มักพบที่ผิวหนังบริเวณหน้าอก ท้อง ข้อศอก เข่า ปลายใบหู และอาจกระจายทั่วร่างกาย ในรายที่เป็นแบบเรื้อรังอาจพบลักษณะสีผิวที่เข้มขึ้น ผิวหนังหนาตัว และอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ระหว่างตัว นอกจากนี้เจ้าของสัตว์อาจมีอาการคัน หรือพบตุ่มแดงในบริเวณที่สัมผัสกับสัตว์ป่วยบ่อยๆ การรักษามีทั้งการใช้ยาฉีด ยาอาบ ยาหยดหลัง และยากิน ซึ่งควรทำทั้งตัวสัตว์ที่เป็นโรค และสัตว์ที่ได้สัมผัสกับสัตว์ป่วย

 
 
โรงพยาบาลสัตว์ศรีวรา
1325 ซอยลาดพร้าว 94 (ปัญจมิตร) แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพ 10310
โทรศัพท์ 0-2530-7636-7 แฟกซ์ 0-2530-7633
Copyright © 2011 Sriwara Animal Hospital Co. ,Ltd. All rights reserved.